top of page

Project no.1

Wet look Technique 

จินตนาการจากทะเลตะวันออก

ศิลปิน: ศาสตราจารย์สุชาติ เถาทอง

ในงานจิตกรรมนั้น แน่นอนว่าความรู้สึกเปียกฉ่ำของภาพที่เพิ่งระบายเสร็จหมาดๆโดยที่สียังไม่แห้งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ประกอบกับมิติของพื้นผิวที่มีความสูงต่ำ หนาบาง มีร่องรอยพู่กัน ล้วนเพิ่มอรรถรสให้แก่ผลงาน และดึงดูด ให้ผู้ชมเข้ามาพินิจดูใกล้ๆ

จากความประทับใจและคุ้นชินในการเขียนจิตรกรรมสีน้ำของศาสตราจารย์สุชาติ เถาทอง ด้วยกลวิธีการระบายด้วยฝีแปรงอย่างรวดเร็ว แบบสีบางๆ บริสุทธิ์สะอาด ให้เป็นระนาบ เป็นแผ่นของสีต่างๆ ที่ซ้อนทับกันไปมา รวมถึงร่องรอยที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญ หรือจงใจให้เกิดเป็นคราบของความชุ่มเปียกที่ไหลซึมแผ่ซ่านเข้าหากัน อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสีน้ำที่สีชนิดอื่นไม่อาจทำได้ 

ดังนั้นการแปรสภาพจากภาพร่างต้นแบบ ไปสู่การร่างต้นแบบสำหรับทำแม่พิมพ์ จึงต้องเน้นให้ความสำคัญกับจังหวะท่วงทีลีลาที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดผ่านฝีแปรง เป็นแผ่น เป็นสี เป็นน้ำหนักอะไรต่างๆ เพื่อเน้นให้เกิดอาการคล้ายๆคราบและร่องรอยของสีน้ำที่ปรากฏบนพื้นผิวตามภาพร่างต้นแบบของศิลปิน

#Wet look

Outcome

ด้วยแนวคิดและรูปแบบผลงานที่ค่อนข้างจะเป็นงานสมัยใหม่ เราจึงเลือกที่จะใช้เทคนิคด้วยการพิมพ์ที่ให้ผลทางการมองเห็น คล้ายเจลหรือหยดน้ำที่ดูมีความเปียกชุ่มอยู่ตลอดมีคุณลักษณะโปร่งใส พร้อมกันนั้นยังสามารถสร้างพื้นผิวที่มีความหนานูนได้ดี เมื่อนำมาพิมพ์เคลือบทับลงบนผลงานที่พิมพ์สีพื้นเสร็จแล้ว

Techniques

ของการพิมพ์พื้นผิวเปียก

แม่พิมพ์เป็นสิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญ

จะต้องใช้แม่พิมพ์ที่มีความหนาหลากหลาย เพื่อให้ความหนาของหมึก

ในแต่ละตำแหน่งแตกต่างกัน

Screen Mesh

ผ้าที่จะนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ต้องใช้ความละเอียดปานกลาง ไม่หยาบหรือละเอียดเกินไป เนื่องจากต้องเก็บรายละเอียดลวดลายได้อย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกัน

ก็ต้องไม่ละเอียดจนสีพิมพ์ออกยาก 

Sensitised Emulsion

เคลือบกาวถ่ายบล็อกที่มีความหนาของกาวประมาณ 50-100 ไมครอน แล้วแต่ชั้นความหนาแต่ละชิ้นที่ต้องการ ใช้แม่พิมพ์ที่มีความหนาหลากหลายเพื่อให้ความหนาของหมึกในตำแหน่งที่ต่างกันมีความหนาแตกต่างกัน  

UV Ink

หมึกที่ใช้ก็ต้องเป็นหมึกพิเศษ เรียกว่าหมึกพิมพ์ชนิด UV ที่ต้องเป็นแบบที่ให้ความหนาพอดี ไม่หนืดมากเกินไปและต้องมีความสัมพันธ์กับความละเอียดของผ้าสกรีนที่ใช้ขึงแม่พิมพ์ มิฉะนั้นจะทำให้พิมพ์ได้ยาก หมึกพิมพ์ UV ต้องอบแห้งด้วยกรรมวิธีการผ่านรังสี UV เท่านั้นไม่สามารถอบแห้งด้วยวิธีอื่น การพิมพ์งานลักษณะนี้ต้องอาศัยช่างพิมพ์ที่มีความชำนาญสูง ต้องเข้าใจในคุณสมบัติของตัวหมึกพิมพ์อย่างดี

Squeegee Rubber

เลือกใช้ยางปาดที่เหมาะสม และปรับความเร็วของยางปาดสกรีนให้พอเหมาะ รวมถึงชนิดของยางปาดสกรีนที่มีระดับความแข็งปานกลาง บางตำแหน่งหากต้องการความหนามากก็ต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ซึ่งต้องระวังเรื่องการอบแห้งเป็นพิเศษ ต้องไม่ทำให้หมึกแห้งจนไหม้ หรือที่เรียกว่า Over cure

TIPs

ในกรณีที่ต้องพิมพ์ซ้ำหลายๆชั้นต้องระวังเรื่องการอบแห้งเป็นพิเศษ ระมัดระวังไม่ให้อบจนแห้งสนิท มิฉะนั้นจะทำการพิมพ์ในขั้นต่อไปไม่ได้ เนื่องจากหมึกจะไม่เกาะตัวกัน

— No.1

My Channel

Bangkok, Thailand  

(+662) 895 0431

bottom of page