THE STORY OF SCREEN FRAME
กรอบสำหรับการทำบล็อกสกรีนในอดีตตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เรามักใช้กรอบไม้ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงขึงของผ้าสกรีนได้ ไม่ว่าขนาดพื้นที่พิมพ์จะใหญ่แค่ไหน เราก็ยังคงใช้กรอบไม้เป็นหลัก ระยะเวลาต่อมาก็พอจะเห็นการนำเหล็กกล่องมาเชื่อมทำเป็นกรอบบล็อกสกรีนอยู่บ้าง แต่คงเพราะมีน้ำหนักมากจึงไม่ค่อยนิยม แต่เหล็กกล่องก็มีความแข็งแรงดี สามารถใช้ทำกรอบบล็อกสกรีนได้เช่นกัน
ช่วงระยะเวลาสิบถึงยี่สิบปีให้หลังนี้ก็เริ่มเห็นมีคนนำอลูมิเนียมกล่องมาเชื่อมทำเป็น
กรอบสกรีนกันมากขึ้น โดยเฉพาะการพิมพ์สกรีนในภาคอุตสาหกรรม อาจมีคำถามว่า
มีเหตุผลอะไรจึงต้องใช้กรอบอลูมิเนียม หรือกรอบเหล็กจึงจะดีกว่า กรอบไม้
บางคนอาจเข้าใจว่าระยะหลังนี้ไม้คงมีราคาแพงขึ้นใช้กรอบที่เป็นแนวโลหะอาจจะถูกกว่า
หรือถ้ามาแนวรักษ์โลกก็อาจจะมองว่าเพื่อเป็นเป็นการสนับสนุนให้เลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่า อาจมีคนที่เข้าใจเหตุผลของการใช้กรอบโลหะประเภทอลูมิเนียมจริงๆมีไม่มากนัก
โดยส่วนใหญ่จะให้เหตุผลในเชิงของความแข็งแรงซึ่งก็คงจะไม่ผิดอะไร แต่เหตุผลหลักของการไม่นิยมใช้ไม้ในการทำกรอบสกรีนนั้นเป็นเพราะ ไม้มีคุณสมบัติในการดูซับของเหลว เช่นน้ำมันหรือหมึกพิมพ์ ระหว่างการพิมพ์และการล้างแม่พิมพ์ อาจมีคำถามต่อมาว่า แล้วยังไงเหรอมันจะเกิดปัญหาอะไร มันเกิดปัญหาครับ เพราะเมื่อมีการดูดซับน้ำมันหรือสีที่พิมพ์มากๆเข้า เวลาเรานำเฟรมไม้ที่เคยผ่านการใช้งานพิมพ์มาหลายๆครั้งจะเริ่ม
เกิดอาการบิดตัวและเกิดอาการโก่งตัว ทำให้ไม่ได้แนวระนาบกับโต๊ะพิมพ์หรือแท่นพิมพ์
เวลาที่บล็อกสกรีนไม่ได้ระนาบกับโต๊ะหรือชิ้นงานพิมพ์ก็จะมีอาการบล็อกกระดก หนักเข้าก็พิมพ์ไม่ได้เพราะกดยางปาดไม่ลง นอกจากนี้บางกรณีก็เจอของแถมจากการที่ไม้ดูซับหมึกพิมพ์ระหว่างการพิมพ์เข้าไปมากๆ บางที่ก็คายสีเดิมที่ฝังตัวอยู่ออกมา เมื่อเราพิมพ์งานใหม่ซึ่งจะมีลักษณะสีที่เยิ้มออกมาปนเปื้อนกับสีที่เราพิมพ์อยู่ก็มี อีกอย่างไม้อาจมีอายุการใช้งานไม่มากนักก่อนที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามที่ว่ามา งานอุตสาหกรรมบางประเภทอาจต้องการเก็บงานพิมพ์หรือนำลายพิมพ์นั้นออกมาใช้เป็นช่วงๆก็จะเกิดปัญหาในระยะยาวตามมา พูดง่ายๆก็คือหากต้องการรักษาคุณภาพงานพิมพ์อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่ควรระวังเบื้องต้นก็คือการเลือกใช้กรอบเฟรมนั่นแหละครับ